รับจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด และชำระบัญชี
Promotion สงวนสิทธิ์เฉพาะธุรกิจที่เข้าเงื่อนไขเท่านั้น
# การจดทะเบียนปิดกิจการมีความเฉพาะตัวของแต่ละกิจการ หากพบ ราคาเดียวรวมหมดทุกอย่าง ควรระวัง อาจได้เอกสารงานไม่ครบถ้วน #
การปิดหจก ราคาถูก รวดเร็ว ประหยัด ทำได้จริง
# เปิดไม่ถึง 1 ปี ไม่มีธุรกรรม แต่จะปิดแล้ว #
# เกิน 1 ปี ส่งภาษีถูกต้อง ไม่มีรายการสำคัญเหลือทางบัญชี #
เงื่อนไข จดปิดห้างหุ้นส่วนจำกัด แบบ FAST TRACK
เข้าเงื่อนไข PROMOTION :
ไม่เข้าเงื่อนไข PROMOTION:
หมายเหตุ :
* ราคา PROMOTION นี้เฉพาะเงื่อนไขของงบการเงินที่ไม่มีรายการเท่านั้น
** กรณีไม่เข้าเงื่อนไข PROMOTION กรุณาติดต่อเพื่อประเมินราคาค่าใช้จ่าย
*** ค่าบริการทั้งหมดไม่รวม ค่าคัดเอกสารสูญหาย ค่าปรับ/ภาษีใดใด กรณีกิจการไม่ได้ทำไว้อย่างถูกต้องตั้งแต่แรก
ความเห็นจากลูกค้าของเรา
REVIEW จริงจากลูกค้าผ่าน GOOGLE MY BUSINESS
จดทะเบียนเลิกหจก และชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด
หากคุณต้องการจดทะเบียนปิดหจก เลิกกิจการ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ต้องกลัวภาษีย้อนหลัง คุณมาถูกที่แล้ว ! !
ค่าใช้จ่ายในการจดเลิก และชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด
1
ค่าปิดงบ สอบบัญชี เพื่อ "จดเลิกหจก"
ปัจจุบัน
2
ค่าที่ปรึกษา แก้ไขปรับปรุง "ข้อบกพร่อง"
อดีต & ปัจจุบัน
3
ค่าปรับทางราชการจาก "ข้อผิดพลาด"
อดีต
3. ค่าปรับราชการ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร (ถ้ามี)
"ข้อผิดพลาด" จากเรื่องราวในอดีต
เงื่อนไขการใช้บริการ
- ผู้ประกอบการเป็นผู้รับผิดชอบค่าปรับราชการใดใด (ถ้ามี) ในส่วนนี้ด้วยตัวเองท้ังหมด
- การช่วยประเมินค่าปรับ เป็นเพียงคำนวณเบื้องต้นจากทีมงานเท่านั้น หากหน่วยงานราชการพบความผิดจริงเพิ่มในภายหลัง ผู้ประกอบการก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
ตัวอย่าง ขาดส่งงบการเงินในบางปีบัญชี / ไม่ได้ยื่นแบบภาษีไว้ครบถ้วนถูกต้อง / ไม่ได้นำส่งข้อมูล หรือ ยื่นแบบแสดงรายการการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของธุรกิจ
หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สามารถสั่งระงับ หรือ ปฏิเสธ การยื่นจดทะเบียน เลิกกิจการ และชำระบัญชี ของผู้ประกอบการ จนกว่าจะมีการแก้ไขปัญหาที่พบให้ถูกต้อง หรือ ได้ดำเนินการเสียค่าปรับตามกฎหมายให้เรียบร้อยเสียก่อน เช่น
- ยื่นงบการเงินล่าช้า เกิน 4 เดือน จากประชุมอนุมัติงบ / หรือ ไม่ยื่นงบเลย ค่าปรับ 12,000 บาท ต่อปี
- ไม่มีการยื่นงบให้สรรพากร / ขาดส่งแบบ ภงด 50 ค่าปรับ 2,000 บาท ต่อปี
รวมไปถึงภาษีค้างจ่ายใดใดในอดีตที่สรรพากรสามารถตรวจสอบพบได้ เช่น
อัตราค่าปรับอาญา (ไม่ยื่นแบบภาษี) | ค่าปรับ | ค่าใช้จ่ายภาษี (ขาดส่ง/ไม่ชำระ) | ภาษีที่ต้องชำระ (เบี้ยปรับ) | เงินเพิ่ม | |
แบบ ภพ 30 , ภพ 36 | 500 บาท/เดือน | แบบ ภพ 30 , ภพ 36 | 2 เท่า + 20% | และ | 1.5% ต่อ เดือน |
แบบ ภงด 1 , 2, 3, 53, 54 | 500 บาท/เดือน | แบบ ภงด 1 , 2, 3, 53, 54 | 1 เท่า | และ | 1.5% ต่อ เดือน |
2. ค่าที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ การปรับปรุงทางบัญชีภาษี (ถ้ามี)
"ข้อบกพร่อง ปัญหาที่มี" จากเรื่องใน อดีต & ปัจจุบัน
หาก ณ วันที่จะจดทะเบียน เลิกกิจการ แต่ว่า งบทดลอง แสดงถึง รายการคงเหลือสำคัญทางบัญชี แสดงว่า ยังไม่เหมาะสมที่จะจดทะเบียนเลิกกิจการ หรือ ไม่มีข้อมูลทางบัญชี/ภาษี ย้อนหลังของงบการเงินในปีก่อนๆ ให้สามารถตรวจสอบได้
ตัวอย่าง รายการคงเหลือสำคัญทางบัญชี เช่น สินทรัพย์ถาวร ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ / หนี้สินบุคคลภายนอก สถาบันการเงิน ดอกเบี้ยค้างจ่าย / กำไรสะสมคงเหลือ หรือ ส่วนของเจ้าของอื่น ยกเว้น ทุน
ถึงแม้ว่าทางกฎหมายจะอนุญาตให้ธุรกิจ สามารถจดทะเบียน "เลิกกิจการ" ได้เลยทันที แล้วค่อยดำเนินการจัดการ รายการคงเหลือสำคัญทางบัญชีภายหลังได้ แต่ในมุมมองทางภาษีอากรแล้วนั้น อาจจะสร้างปัญหาในแง่ค่าใช้จ่ายภาษี และค่าปรับทางภาษีให้กับผู้ประกอบการเป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงไม่แนะนำโดยเด็ดขาดให้ทำการจดทะเบียนเลิกกิจการ ก่อนที่จะได้ทำการเคลียร์ประเด็นปัญหาที่มีเหล่านี้ให้เรียบร้อย
ทางเลือก และเงื่อนไขการใช้บริการ
- ผู้ประกอบการ และผู้ทำบัญชี CPD ของท่าน ดำเนินการเอง และส่งมอบ งบทดลอง ที่ไม่มีประเด็น รายการคงเหลือสำคัญทางบัญชี = ไม่มีค่าใช้จ่ายใดใด
- ผู้ประกอบการ ต้องการให้ ทีมงานแนะนำ และวางแผนเพื่อลดค่าใช้จ่ายทางภาษี = มีค่าใช้จ่าย
- ทีมงาน วางแผน และ ดำเนินการให้ได้ บางส่วน เช่น = ยื่นหนังสือให้สรรพากร / คัดเอกสารย้อนหลัง / ยื่นภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรม
- ทีมงาน วางแผน แต่ ลูกค้า ต้องเป็นผู้ดำเนินการเอง หลายส่วน เช่น = ขายสินทรัพย์ / ขายสินค้าคงเหลือ / เจรจาชำระเงินเจ้าหนี้
หมายเหตุ : ทีมงานไม่สามารถรับผิดชอบกรณีที่ ผู้ประกอบการ เลือกใช้วิธีการดำเนินการด้วยตัวเอง และเกิดข้อผิดพลาด ทำให้เกิดรายจ่ายทางภาษีเพิ่มขึ้น และเป็นอุปสรรคในการจดทะเบียนเลิกกิจการนั้น และ ขอสงวนสิทธิ์ในการให้คำแนะนำแก่ผู้ที่ยังไม่ได้ใช้บริการ เนื่องจากทีมงานยังไม่ได้ตรวจสอบเอกสารให้ท่านโดยละเอียด และเป็นสาเหตุที่ทำให้คำแนะนำผิดพลาด และส่งผลเสียในภายหลังกับธุรกิจของท่านเองได้
1. ค่าปิดงบ สอบบัญชี ยื่น "จดเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด และชำระบัญชี"
ค่าใช้จ่ายปัจจุบัน เพื่อปิดหจก
ค่าใช้จ่ายส่วนที่ 1 : ค่าตรวจสอบบัญชี งบเลิกกิจการ ปีบัญชีที่ทำการจดเลิกกิจการ
รายได้ (บาท) | ค่าสอบบัญชี (บาท) |
1 - 1,000,000 | 10,000 |
1,000,001 - 2,000,000 | 12,000 |
2,000,001 - 3,000,000 | 13,000 |
3,000,001 - 5,000,000 | 15,000 |
5,000,001 - 8,000,000 | 18,000 |
8,000,001 - 10,000,000 | 22,000 |
* กรุณาติดต่อทีมงาน หากรายได้เกิน 10 ล้านบาท * |
เงื่อนไขการใช้บริการ
- ผู้ประกอบการจะต้องมีงบทดลอง และบัญชีแยกประเภท ที่จัดทำโดยผู้ทำบัญชี CPD ของท่านเอง รวมถึงส่งมอบงบการเงิน และงบทดลองปีล่าสุด
- ผู้ประกอบการจะต้องสามารถแสดงหลักฐานเอกสารประกอบการลงบัญชีได้ตามร้องขอ เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี รวมถึง รายการเดินบัญชีธนาคาร
ค่าใช้จ่ายส่วนที่ 2 : ค่าบริการยื่นจดทะเบียนเลิก และชำระบัญชี เพื่อปิดห้างหุ้นส่วนจำกัด
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า | กรมสรรพากร (เฉพาะ กรณี จด VAT) |
9,000 บาท | 3,000 บาท (กทม) / 6,000 บาท (ตจว) |
** ค่าใช้จ่ายส่วนที่ 3 : ค่าบริการ บันทึกรายการบัญชี ยื่นแบบภาษี ย้อนหลัง (ถ้ามี) **
เงื่อนไขการใช้บริการ
- กรณีที่ผู้ประกอบการมีรายการค้า มีธุรกรรมต่างๆ แต่ไม่ได้ว่าจ้างนักบัญชี บันทึกข้อมูลทางบัญชีใดใดเลย = มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในส่วนนี้
- หากโดนสรรพารเรียกตรวจสอบ หรือ ให้เข้าพบเพื่อชี้แจงการเสียภาษีไม่ถูกต้องในอดีต = เจ้าของเป็นผู้เข้าพบ หรือ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
จ้างเลิกหจก และชำระบัญชี
ไม่ต้องกลัวโดนภาษีย้อนหลัง ติดต่อทีมงานได้เลย !
ADD LINE : @cross-check
ภาพรวม การจดทะเบียนเลิกหจก และชำระบัญชี
ธุรกิจสถานะ "ดำเนินการ"
ตั้งแต่ได้เริ่มจดทะเบียนจัดตั้งกิจการนิติบุคคลขึ้นมาแล้ว ธุรกิจจะอยู่ในสถานะ "ดำเนินการ" ซึ่งหมายถึง กิจการที่สามารถ และพร้อมที่จะทำธุรกรรม นิติกรรมใดใดได้ทุกเมื่อ ไม่ว่าจะซื้อขายจ่ายรับ กู้เงิน ทำสัญญาต่างๆ
ทั้งนี้ไม่สนใจว่า ธุรกิจ จะเริ่มทำกิจการจริงเมื่อไร หรือ หยุดทำธุรกรรมไปนานแล้วแค่ไหน เพราะตราบใดที่ยังไม่ได้มีการจดทะเบียน "เลิกกิจการ" กับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สถานะทางกฎหมายก็จะยังอยู่ในสภาพ "ดำเนินการ" อยู่ดี ซึ่งหมายความว่าพร้อมทำธุรกิจได้ทุกเมื่อ
ห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ยังอยู่ในสถานะ "ดำเนินการ" จะมีผู้มีอำนาจในการดำเนินการแทนที่จะเรียกว่า หุ้นส่วนผู้จัดการ
ซึ่งหากต่อไปได้มีการจดทะเบียน เลิกกิจการ จะต้องมีการแต่งตั้งผู้มีอำนาจที่เรียกว่า "ผู้ชำระบัญชี" ซึ่งอาจจะเป็น ผู้มีอำนาจเดิม หรือ ไม่ก็ได้
ธุรกิจสถานะ "เลิก"
ธุรกิจจะมีสถานะ "เลิก" ก็ต่อเมื่อได้ทำการจดทะเบียนกับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้วเท่านั้น
เมื่อธุรกิจมีสถานะ "เลิก" แสดงว่ากิจการมีความต้องการที่จะยุติการดำเนินงานทำทุกอย่างของกิจการ และมีเป้าหมายในการจะปิดกิจการลงในที่สุด เพียงแต่ว่าอาจจะยังมีขั้นตอนชำระหนี้สิน เคลียร์รายการทางบัญชี ขายสินทรัพย์ถาวร และกระบวนการอื่นๆอีกให้เรียบร้อยก่อน ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่าการชำระบัญชี
นอกจากนี้ผู้มีอำนาจของกิจการเมื่ออยู่ในสถานะ "เลิก" นั่นจะถูกเรียกว่า ผู้ชำระบัญชี ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นบุคคล หรือ กลุ่มคนเดียวกันกับผู้มีอำนาจของนิติบุคคลเดิมอย่าง หุ้นส่วนผู้จัดการ ก็ได้เช่นกัน
เมื่อมีสถานะธุรกิจเป็น "เลิกกิจการ" แล้ว ถ้าไม่มีประเด็นใดตกค้าง หรือ ต้องจัดการให้เรียบร้อยตามที่กฎหมายกำหนด ก็สามารถดำเนินการจดทะเบียน "เสร็จการชำระบัญชี" ต่อไปได้เลยภายใน 14 วัน
ธุรกิจสถานะ "เสร็จการชำระบัญชี"
เมื่อธุรกิจที่ได้จดทะเบียน "เลิกกิจการ" แล้ว ต่อมาได้ทำการจัดการประเด็นค้างคาต่างๆ ทางบัญชีแล้ว เช่น ลูกหนี้ เจ้าหนี้ กำไรสะสม สินค้าคงเหลือ สินทรัพย์ หนี้สินต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ได้รับการอนุมัติในการปิดกิจการจากกรมสรรพากรด้วย ในกรณีที่จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
สามารถยื่นเรื่องจดทะเบียนเพื่อให้มีสถานะ "เสร็จการชำระบัญชี" กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้
ถ้าหากธุรกิจได้รับสถานะ "เสร็จการชำระบัญชี" ตามกฎหมายควรเก็บเอกสารไว้ให้ตรวจสอบอย่างน้อย 10 ปี
ข้อควรระวัง คือ ผู้ประกอบการหลายท่านได้ทำการจดทะเบียนเลิกกิจการ แล้วแต่ไม่ได้ดำเนินการ จด "เสร็จชำระบัญชี" ให้เรียบร้อย และไม่ได้ทำการรายงานต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าตามระยะเวลาที่กำหนด อาจทำให้สถานะธุรกิจถูกเปลี่ยนเป็น สถานะ "ร้าง" แทนได้ ทำให้เกิดปัญหาตามมาเช่นกัน
มีปัญหาซับซ้อน ? ปรึกษาฟรี !
ทีมงานพร้อมช่วยเหลือให้คำแนะนำอย่างมืออาชีพ !
แอดไลน์ : @cross-check
ขั้นตอนการให้บริการจดทะเบียน ปิดหจก
1. ติดต่อทีมงานเพื่อประเมินค่าใช้จ่าย และรับคำแนะนำเบื้องต้นฟรี !
ADD LINE มาที่ @cross-check ทีมงานขอทราบข้อมูลเบื้องต้นเพื่อตรวจสอบ และให้ส่งงบทดลอง บัญชีแยกประเภท และข้อมูลงบการเงินปีล่าสุด รวมถึงเอกสารทางบัญชีอื่นๆ เพื่อใช้ในการตรวจสอบ และประเมินราคา รวมถึงระยะเวลาดำเนินการต่างๆ
2. ชำระเงินเพื่อยืนยันการใช้บริการจดทะเบียนเลิกกิจการ และชำระบัญชี
ส่งหลักฐานการชำระเงิน และส่งมอบเอกสารที่เกี่ยวข้องในการจดเลิกกิจการ และชำระบัญชี เพื่อให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบ และออกงบเลิกกิจการ กรณีมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูล อาจจะมีการร้องขอข้อมูล หรือ เอกสารเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง
3. วางแผนภาษี และระยะเวลาในการทำธุรกรรมต่างๆกับทางลูกค้า
ทีมงานจะแจ้งข้อมูลที่ทางเจ้าของธุรกิจจะต้องดำเนินการล่วงหน้าก่อนดำเนินการจดทะเบียนเลิกกิจการ เพื่อให้การปิดหจก เป็นไปได้อย่างราบรื่นมากที่สุด และลดความเสี่ยงในการโดนตรวจสอบย้อนหลัง และค่าปรับทางภาษีต่างๆ พร้อมทั้งให้คำแนะนำปรึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
4. ยื่นจดทะเบียนเลิกหจก กับหน่วยงานต่างๆ และผู้สอบบัญชี ออกงบการเงิน ฉบับเลิกกิจการ
ทีมงานทำการจดทะเบียน เลิกกิจการ แก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า แล้ว ดำเนินการออกงบการเงินฉบับเลิกกิจการ และยื่นเรื่องต่อกรมสรรพากรเพิ่มเติม กรณีที่กิจการได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยปกติแล้วระยะเวลาตรวจสอบของกรมสรรพาก
5. ยื่นจดทะเบียนเสร็จสิ้นชำระบัญชี เมื่อสรรพากรอนุมัติ หรือ ไม่พบเรื่องที่ต้องตรวจสอบ
หากสรรพากรไม่มีหนังสือระงับในการจดทะเบียนเลิก และชำระบัญชี และส่งเรื่องให้กรมพัฒนาธุรกิจแต่อย่างใด ทีมงานจะดำเนินการจดทะเบียนเสร็จสิ้นชำระบัญชี และคัดเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เก็บไว้เป็นหลักฐานว่าได้ทำการจดทะเบียนปิดห้างหุ้นส่วนจำกัดเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว
คำถามที่พบบ่อย
หากห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่มีรายการซับซ้อน และไม่ข้อมูลที่โดนหน่วยงานต้องใช้เวลาในการตรวจสอบใดใด ก็สามารถจดเลิก และชำระบัญชีได้ภายใน 30 วัน แต่โดยปกติ กิจการที่จดภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องรอการได้รับอนุญาตจากสรรพากรก่อน ซึ่งมักจะเป็นเรื่องการตรวจสอบภาษีย้อนหลัง ดังนั้นอาจใช้เวลาตั้งแต่ 2 เดือน - 2 ปี เลยทีเดียว
ทำได้ แต่ไม่ดีแน่ๆ เพราะว่าจะโดนทั้งค่าปรับขาดส่งงบการเงิน ขาดส่งแบบเสียภาษี ซึ่งกิจการจะยังอยู่ในสถานะดำเนินการต่อไป ถึงแม้จะไม่มีการทำธุรกิจจริงแล้วก็ตาม และยังอาจโดนฟ้องร้องได้อยู่ตลอดเวลา และถ้าขาดส่งงบการเงินเกิน 3 ปี ยังจะโดนกรมพัฒนาธุรกิจการขีดฆ่าชื่อออกจากทะเบียน และเปลี่ยนสถานะกิจการเป็น "ร้าง" อีกด้วย
กรณีที่ยังมีสินทรัพย์คงเหลืออยู่ ก็สามารถจดเลิกกิจการได้ แต่อาจจะมีประเด็นทางด้านค่าปรับภาษีอากรกับทางสรรพากรเพิ่มเติม รวมไปถึงหากไม่ได้ชำระหนี้ หรือ ได้รับการยกหนี้จากเจ้าหนี้ก็อาจจะโดนประเมินเป็นรายได้ส่วนเพิ่มทำให้ต้องเสียภาษีเช่นกัน ดังนั้นแล้วหากไม่ถึงที่สุดจริงๆ แนะนำที่จะควรจะดำเนินการให้เรียบร้อยก่อนที่จะเริ่มกระบวนการจดเลิกกิจการ และชำระบัญชีดีกว่า
จะต้องทำการย้ายที่ตั้งสำนักงานให้เป็นสถานที่อื่น ซึ่งสามารถรับจดหมายจากทางราชการได้อยู่ ทั้งนี้สามารถกำหนดสถานที่ตั้งใหม่เป็นที่อยู่ส่วนตัวของผู้ชำระบัญชี หุ้นส่วนผู้จัดการ หรือ หุ้นส่วนทั่วไปก็ได้เช่นกัน
การมีกำไรสะสม แต่ไม่มีเงินสดใช้สามารถปันผลสามารถแก้ไขได้หลายวิธี เช่น หาแหล่งกู้ยืมเงินเพิ่มเติม เพื่อนำมาใช้ในการจ่ายปันผล แต่ประเด็นสำคัญเรื่องของกำไรสะสมก็คือ หากเลิกกิจการ และยังมีกำไรสะสมคงเหลืออยู่นั้นจะทำให้เสียภาษีจากการแบ่งกำไรสูงถึง 15% ในขณะที่ภาษี หัก ณ ที่จ่ายจากการปันผลมีอัตราเพียง 10% เท่านั้น
ผู้ชำระบัญชี จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือ เป็นบุคคลภายนอกอื่นแทนก็ได้ ซึ่งมีหน้าที่ และอำนาจในการดำเนินการจดทะเบียนเลิกกิจการ และชำระบัญชี รวมทั้งติดต่อหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องทั้งหมด อย่างไรก็ตาม หากผู้มีชำระบัญชี ไม่ใช่ หุ้นส่วนผู้จัดการเดิม ทั้งในแง่ตัวบุคคล จำนวน และอำนาจผูกพัน จะต้องมีมติผู้ถือหุ้นเพื่อแต่งตั้งว่าใครจะเป็น ผู้ชำระบัญชี ของกิจการที่จดเลิกกิจการเสียก่อน
หากขาดส่งงบการเงินปีก่อนๆ จะทำให้ไม่ข้อมูลทางบัญชียกยอกมาในปีปัจจุบันทำให้การทำบัญชีปิดงบ และตรวจสอบบัญชีไม่ถูกต้อง ดังนั้นจำเป็นต้องปิดงบย้อนหลัง และยื่นข้อมูลกับหน่วยงานราชการ พร้อมทั้งเสียค่าปรับทั้งหมดให้เรียบร้อย ถึงจะดำเนินการ จดทะเบียนปิดหจก.ต่อไปได้อย่างถูกต้อง และไม่โดนระงับ หรือ ตรวจสอบภายหลัง ซึ่งอาจสร้างผลเสียกับตัวเจ้าของธุรกิจมากกว่า
กฎหมายกำหนดให้สิทธิ์สรรพากรในการตรวจสอบแค่ภายในระยะเวลา 2 ปี หลังจากที่หจก.ได้จดทะเบียนเลิก และชำระบัญชีเรียบร้อยแล้ว
ซึ่งปกติแล้วสรรพากรจะทำการตรวจสอบภาษีย้อนหลัง ตั้งแต่เรายื่นจดทะเบียนขอเลิกกิจการกับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว
และส่วนใหญ่หากมีกรณีเสียภาษีไม่ถูกต้องก็จะต้องเสียค่าปรับให้เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ขั้นตอนนี้ ดังนั้นโอกาสในการโดนคิดภาษีย้อนหลัง หลังจากที่ปิดหจก.สำเร็จไปแล้วมีค่อนข้างน้อยมาก
อย่างไรก็ตามก่อนยื่นจดเลิกกิจการ ก็ควรตรวจสอบการเสียภาษีของตัวเองในอดีตให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อน จะได้โดนค่าปรับน้อยกว่าโดนทางเจ้าหน้าที่สรรพากรตรวจพบเองมากกว่า
ธุรกิจที่มีสถานะ "ร้าง" จะไม่สามารถดำเนินการธุรกรรม นิติกรรมใดใดได้เลย เช่น การโอนขายที่ดิน อาคาร หรือ จำหน่ายทรัพย์สินต่างๆ
นอกจากนี้ยังมีสิทธิ์โดนฟ้องร้อง เพราะความรับผิดชอบทางด้านกฎหมายของตัวหุ้นส่วนผู้จัดการไม่ได้ยุติไปด้วย
และหากมีเจ้าหนี้ หรือ ผู้เสียหายต้องการฟ้องร้องต่อศาลเพื่อดำเนินคดี และร้องขอให้ศาลมีคำสั่ง ยกเลิกสถานะร้างออก ก็สามารถทำได้เสมือนว่าธุรกิจยังคงได้ดำเนินการมาต่อเนื่องโดยตลอด
หากหจก.ขึ้นสถานะร้างแล้ว เนื่องจากไม่ส่งงบการเงินติดต่อกันตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป อาจไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนเลิก และเสร็จการชำระบัญชี เนื่องจากหจก.ได้สิ้นสภาพนิติบุคคลทางกฎหมายไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่า เจ้าหนี้ หรือ บุคคลอื่นๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการ ยังคงยื่นฟ้องต่อศาล เพื่อให้หจก.กลับมามีความเป็นนิติบุคคลเช่นเดิม เพื่อดำเนินคดีความต่อไปเมื่อไรก็ได้
สรรพากรมีสิทธิ์ในการตรวจสอบภาษีย้อนหลังตั้งแต่ 2 ปี - 5 ปี กรณีที่มีการยื่นแบบ และเสียภาษีไม่ถูกต้องได้
อย่างไรก็ตามหากธุรกิจไม่เคยยื่นแบบภาษีเลย สรรพากรสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้มากถึง 10 ปี
ดังนั้นการที่จะทำงบเปล่า 2-3 ก่อน จะทำให้ปิดหจก.ง่ายขึ้นนั้น อาจมีส่วนช่วยเพียงเล็กน้อย แต่ไม่ได้เป็นตัวการันตีทั้งหมดแต่อย่างใด
เพราะก็มีบ่อยครั้งที่โดนตรวจย้อนหลังนับ 10 ปี แล้วก็ไม่สามารถจดทะเบียนปิดหจก.ได้ รวมทั้งยังโดนสรรพากรฟ้องร้องทั้งในนามหจก. และฟ้องร้องส่วนตัวในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของ ห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วย
ถึงแม้จะปิดหจก.ไปแล้ว ผู้ประกอบการหลายๆคนอาจจะอยากทิ้งเอกสารทางธุรกิจไปเลย แต่ว่า ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1271 ระบุไว้ว่าให้ ผู้ชำระบัญชียังคงต้องเก็บสมุดบัญชี และเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี หรือ เอกสารสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับกิจการไว้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 10 ปี (ถึงแม้จะไม่ค่อยมีคนทำตามก็ตาม)
มีคำถามเพิ่มเติม ?
อยากปรึกษาทีมงาน คลิกปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย !